OBEC Student Protection Task Force Center (OBEC SPTFC)
1. หลักการ
ด้วยสถานการณ์เด็กนักเรียนในสังคมไทย ทั้งการทะเลาะวิวาท การใช้ความรุนแรงในโรงเรียน การละเมิดทางเพศ เป็นต้น นับวันจะซ้อนทวีความรุนแรงและกระจายตัวมากขึ้น กระทรวงศุกษาธิการ โดยองค์การหลักได้พยายามทุกวิถีทางที่จะหยุดยั้งบรรเทาสถานการณ์มีการออกนโยบายมาตรการ และดำเนินการป้องกันเหตุดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนักเรียนในความดูแลมากกว่า 8 ล้านคน มีหน่วยงานและบุคลากรกระจายอยู่ทั่วประเทศ จำเป็นต้องมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษและระบบที่สามารถช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่เผชิญปัญหาต่าง ๆ อิท ความรุนแรง การละเมิดทางเพศ ความเป็นธรรมทางการศึกษา ความต้องการรับการช่วยเหลือต่าง ๆ เป็นต้น ให้ได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที มีรับบสารสนเทศที่รองรับ การดำเนินการ จึงจำเป็นต้องตั้งศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉก.ชน.สพฐ.) เพื่อดำเนินงานดังกล่าว
2.วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นศูนย์เคลื่อนที่เร็วในการเข้าถึงข้อมูลเมื่อมีกรณีเกี่ยวกับนักหเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม นักเรียนถูกล่วงละเมิดทางร่างกายหรือจิตใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึกษา
2.2 เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานในการช่วยเหลือนักเรียนที่ถูกล่วงละเมิดฯ โดยทำงานเป็นเครือข่ายกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และหน่วยงานที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3 เพื่อจัดทำสารสนเทศและระบบเฝ้าระวัง คุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน
3.กลุ่มเป้าหมาย
เด็กนักเรียนที่มีพฤติกรรมใม่เหมาะสมหรือถูกล่วงละเมิดทางร่างกายหรือทางจิตใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึกษา
4.ภารกิจของหน่วย
(ก) ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉก.ชน.สพฐ.) มีความในรับผิดชอบ ดังนี้
4.1 งานรับเรื่องร้องเรียน/วิเคราะห์ข้อมูล
– รับเรื่องร้องเรียนกรณีเด็กนักเรียนพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือถูกล่วงละเมิดทางร่างกายหรือทางจิตใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึกษา
– วิเคราห์/ประมวลผลข้อมูล ประสานศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ฉก.สพป/สพม.) เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาสั่งการ
– จัดทำสารสนเทศระบบเฝ้าระวังสถานการณ์ เช่น จัดทำฐานข้อมูลโรงเรียนเชิงลึก จัดทำฐานข้อมูลการร้องเรียนด้านต่างๆ เป็นต้น
-ประสานความร่วมมือและให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการช่วยเหลือในกรณีที่ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ฉก.สพป/สพม.) เป็นผู้ดำเนินการ
4.2 งานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน
– ดำเนินการคุ้มครองละช่วยเหลือนักเรียนกรณีที่ร้องเรียนมาที่ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉก.ชน.สพฐ.) หรือกรณีที่เกินกำลังของศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ฉก.สพป/สพม.)
– ประสานและอำนวยความสะดวกให้เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการเข้าช่วยเหลือเด็กนักเรียนให้อยู่ในภาวะที่ปลอดภัย
– ติดตามและประสานงานการช่วยเหลือแบบองค์รวม (Holistic Recovery) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง/เครือข่ายเข้าช่วยเหลือและเยียวยาครบทุกด้านรวมถึงการพัฒนาและดำรงเครือข่าย
(ข) ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษา (ฉก.ชน.สพป./สพม.) มีงานในความรับผิดชอบ ดังนี้
4.3 งานรับเนรื่องร้องเรียน/วิเคราะห์ข้อมูล
– รับเรื่องร้องเรียนกณีเด็กนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือถูกล่วงละเมิดทางร่างการหรือจิจใจ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมทางการศึดษา ในเขตพื้นที่การศึกษา
– วิเคราะห์/ประมวลผลข้อมูล ประสานศูนย์เฉพาะกิจคุถ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึดษา (ฉก.ชน.สพฐ.) เพื่อนำเสนอผู้บังคับบังชาเพื่อทราบหรือพิจารณาสั่งการแล้วแต่กรณี
– จัดทำสารสนเทศและระบบเฝ้าระวังสถานการณ์ เช่น จัดทำฐานข้อมูลโณงเรียนเชิงลึกจัดทำฐานข้อมูลการร้องเรียนด้านต่างๆ เป็นต้น ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
– ประสานความร่วมและให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่เขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือเด็กนักเรียน
4.4 งานคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน
– ดำเนินการคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนกรณีที่ร้องเรียนมาที่ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา (ฉก.ชน.สพป.สพม.) หรือได้รับการประสานจากศูนย์เฉพากิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉก.ชน.สพฐ.)
– ประสานและอำนวยความสะดวกให้เครือข่ายในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องในการเข้าช่วยเหลือเด็กนักเรียนให้อยู่ในภาวะที่ปลอดภัย
– ติดตามและประสนงานการช่วยเหลือแบบองค์รวม (Holistic Recovery) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง/เครือข่ายเข้าช่วยเหลือเยียวยาครบทุกด้านรวมถึงการพัฒนาและดำรงเครือข่ายในระดับเขตพื้นที่การศึกษา